หน้าแรก





ความหมายของระบบเศรษฐกิจ(economic system)

ความหมายของระบบเศรษฐกิจ(economic system)
หมายถึงกลุ่มบุคคลของสังคมที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มของสถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งยึดถือแนวปฏิบัติแนวทางเดียวกันในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน คือ อำนวยความสะดวกในการที่จะแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถบำบัดความต้องการให้แก่บุคคลต่างๆที่อยู่ร่วมกันในสังคมนั้นให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
รูปแบบของระบบเศรษฐกิจ
1.ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม ( Laissez-faire or capitalism)
2.ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ( communism )
3.ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ( socialism )
4.ระบบเศรษฐกิจแบบผสม ( mixed economy )
หน้าที่และเป้าหมายของบุคคลในระบบเศรษฐกิจ

ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม(Laissez-faire or capitalism)

1.ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม ( Laissez-faire or capitalism) ระบบเศรษฐกิจนี้เป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เสรีภาพแก่เอกชนในการเลือกดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจแต่ทว่าเสรีภาพดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1.เอกชนมีเสรีภาพในการเลือกตั้ง เลือกตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
2.กำไรและระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นแรงจูงใจในการทำงานทำให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1.ก่อให้เกิดปัญหาการเหลื่อมล้ำอันเนื่องมาจากความสามารถที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลโดยพื้นฐานทำให้การหารายได้ไม่เท่ากัน
2.ในหลายๆกรณีกลไกทางการตลาดยังไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการจัดสรรทรัยากรในระบบเศรษฐกิจ
3.การใช้ระบบการแข่งขันหรือกลไกราคาอาจทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอย่างสิ้นเปลือง

ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสด์(communism)

2.ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ( communism ) ระบบเศรษฐกิจนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลทั้งทรัพยากรต่างๆและปัจจัยการผลิตทุกชนิด เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในการเลือกใช้ปัจจัยการผลิตได้ กลไกราคาไม่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การตัดสินใจมักจะทำอยู่ในรูปของการวางแผนแบบบังคับ จากส่วนกลาง (central planning) โดยคำนึงถึงสวัสดิการของสังคมเป็นสำคัญ
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
1.เป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดปัญหาการเหลื่อมล้ำทางฐานะและรายได้ของบุคคลในสังคม
2.ภายใต้ระบบเศรษฐกิจนี้เอกชนจะทำการผลิตและปริโภคตามคำสั่งของรัฐ
ข้อเสียระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
1.ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการผลิตหรือบริโภคอะไรได้ตามใจ
2.สินค้ามีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควรเนื่องจากผู้ผลิตขาดแรงทุนทรัพย์ในการผลิต
3.การใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอาจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม(socialism)

3.ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ( socialism ) ระบบเศรษฐกิจแบบนี้เป็นระบบที่ใกล้เคียงกับระบบคอมมิวนิสต์ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจนี้รัฐจะเป็นผู้ครอบครองทรัพยากรพื้นฐานไว้เกือบทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามรัฐยังให้เสรีภาพแก่ประชาชนบ้างพอสมควร เอกชนมีเสรีภาพและกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ระบบกลไกราคามีผลอยู่บ้างในระบบเศรษฐกิจนี้
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
1.ช่วยลดปัญหาการเหลื่อมล้ำทางฐานะและรายได้ของบุคคล
2.เอกชนมีสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินได้บ้าง
ข้อเสียระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
1.การผลิตถูกจำกัดเพราะต้องผลิตตามที่รัฐกำหนด
2.โอกาสที่จะขยายการผลิตหรือพัฒนาคุณภาพการผลิตเป็นไปได้อย่างลำบาก

ระบบเศรษฐกิจแบบผสม(mixed economy)

4. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม ( mixed economy ) ระบบเศรษกิจแบบผสมเป็นระบบเศรษกิจที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างแบบทุนนิยมและสังคมนิยม กล่าวคือ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมทั้งรัฐและเอกชนต่างมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ปัจจัยการผลิตมีทั้งส่วนที่เป็นของรัฐและเอกชน
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
1.เป็นระบบเศรษฐกิจที่ค่อนข้างมีความคล่องตัว
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
1.การมีกำไรและระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพสินอาจทำให้เกิดการเหลื่อมล้ำทางฐานะและรายได้
2.การที่รัฐสามารถเข้าแทรกแซงตลาดโดยใช้กลไกรัฐอาจก่อให้เกิด
2.1 ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง
2.2ปัญหาเอกชนไม่กล้าลงทุนอย่างเต็มที่ เนื่องจากไม่แน่ใจในสถานการณ์ทางการเมืองและนโยบายของรัฐบาลซึ่งมีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงได้ง่าย

หน้าที่และเป้าหมายของบุคคลในระบบเศรษฐกิจ

หน้าที่และเป้หมายของบุคคลในระบบเศรษฐกิจ
1.ผู้บริโภค มีหน้าที่ในการตัดสินใจเลือกบริโภคสินค้าและบริการที่ทำให้ตนได้รับความพอใจมากที่สุด ( maximum satisfaction ) ภายใต้ราย ได้จำกัดจำนวนหนึ่ง
2.ผู้ผลิต มีหน้าที่รวบรวมปัจจัยการผลิตเพื่อนำมาผลิตเป็นสินค้าและบริการ เพื่อนำไปจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค โดยมีเป้าหมายเพื่อการแสวงหากำไรสูงสุด (maximum profit)
3.เจ้าของปัจจัยการผลิต มีหน้าที่เสนอขายปัจจัยการผลิตไปให้ผู้ผลิตเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการ ผลตอบแทนที่เจ้าของปัจจัยการผลิตจะได้รับก็แล้วแต่ชนิดของปัจจัยการผลิตนั้น

คณะผู้จัดทำ

คณะผู้จัดทำ
ปณัย เจริญรัศมีเกียรติ ม.508 เลขที่ 2
กัลป์ อืสรานนทกุล ม.508 เลขที่ 4
โสฬส ม่วงศิริ ม.508 เลขที่ 6
มงคล กุศลพิทักษ์ ม.508 เลขที่ 11
วงศธร วิบูลศิริทัศน์ ม.508 เลขที่ 17
เชาวน์ ศรีศุภภักดี ม.508 เลขที่ 18
วรนัทธ์ ม่วงศิริ ม.508 เลขที่ 20
ชัยชาติ รักษ์นิเวศน์ ม.508 เลขที่ 30
สัหณ์พิชญ์ ตันตะโนกิจ ม.508 เลขที่ 32
วินิจ ศรีพิพัฒน์ ม.508 เลขที่ 33
สรุจ นิ่มศิริ ม.508 เลขที่ 34
เฉลิมพล เชี่ยวรุ่งโรจน์ ม.508 เลขที่ 35
จิราพัชร์ จิตตะเสนีย์ ม.508 เลขที่ 36
จุลพงษ์ ทองธนรักษ์ ม.508 เลขที่ 40
ณัฐพงศ์ กริยาพล ม.508 เลขที่ 42
ณัฐวุฒิ โพธิเพียรทอง ม.508 เลขที่ 43